ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนควรรับรู้เรื่อง “การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล” ที่เราไม่รู้ตัวบนสมาร์ทโฟน พร้อมเร่งสร้าง“ภูมิคุ้มกันทางดิจิทัล” เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อการตลาดแบบไฮเทคที่นับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์หลายพันล้านคนบนโลกใบนี้ กำลังถูกเทคโนโลยีขั้นสูงวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวล่วงรู้ถึงความคิด พฤติกรรมของผู้บริโภค และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ทางการตลาดและสร้างผลกำไร
จริงหรือที่ในโลกไซเบอร์ประเทศต่างๆ ยังมี “เอกราชอธิปไตย” แต่ทำไมจึงมีการรุกรานทางความคิด ความเชื่อ จากการใช้งานโซเซียลมีเดียและ Search Engine ที่ค่อยๆ ส่งข้อมูลเข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราโดยไม่รู้ตัว แล้วนั่นคือ การล่าอาณานิคมรูปแบบใหม่หรือไม่?
“Cyber Sovereignty” หรือ “อธิปไตยทางไซเบอร์” ปัญหาใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ตัวว่า กำลังถูกละเมิดอธิปไตยทางไซเบอร์ ซึ่งจะขยายความสูญเสียให้ใหญ่ขึ้นได้อีกในอนาคต
บทความนี้เป็นตอนสุดท้ายที่จะนำเสนอถึงปัญหาย่อยอีก 4 กลุ่มสุดท้าย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่า ประเทศไทยจะมีความพร้อมกับการรับมือการโจมตีทางไซเบอร์และการรักษาอธิปไตยไซเบอร์ของชาติ ได้อย่างไร?
ความพร้อมของประเทศไทย กับการรับมือการโจมตีทางไซเบอร์และการรักษาอธิปไตยไซเบอร์ของชาติ?” เป็นคำถามที่ยังคาใจของใครหลายๆ คน
วิเคราะห์เจาะลึกคำถามที่ว่า ไทยมีความพร้อมในการรับมือการโจมตีทางไซเบอร์และการรักษาอธิปไตยไซเบอร์ของชาติหรือไม่? พร้อมแนวทางแก้ไข และเสนอโครงการนำร่อง ที่จะนำพาประเทศไทยให้ก้าวสู่การพัฒนากลยุทธ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับชาติในระยะยาว
ยุค Data-Driven Economy กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ตลอดจนเศรษฐกิจสังคมของประเทศชาติ รัฐจำเป็นต้องเร่งกำหนดนโยบายทางไซเบอร์และยุทธศาสตร์ไซเบอร์ เพื่อกำหนดทิศทางและคุ้มครอง “การรุกรานทางความคิด” ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สมาร์ทโฟนกลายเป็นเครื่องมือในการนำเสนอสิ่งที่ “เขา” อยากให้ “เรา” เสพ โดยเราอาจถูกเปลี่ยนความคิด ความเชื่อไปอย่างสิ้นเชิง โดยผู้ออกแบบโมบายแอปพยายามดึงเวลาให้คนติดกับแอปนั้นให้มากที่สุด หวังแย่ง “Attention Span” เพราะเป็นผลประโยชน์ทางธุรกิจ แล้วเราเองรู้หรือไม่ว่า วันนี้สมาร์ทโฟนได้แย่งเวลาในชีวิตของเราไปโดยไม่รู้ตัว
Elon Musk เคยเปรียบไว้ว่า เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ใน Simulation Reality หรือ The Matrix ที่เป็น “สภาวะไซเบอร์” สามารถล่วงรู้ Digital Lifestyle จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ “Fitter Bubble Effect” และ “Echo Chamber Effect” การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ จึงควรรู้เท่าทันก่อนที่เราจะถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางการตลาดโดยไม่รู้ตัว