ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ชื่อดัง ชี้ 2 จุดพึงระวัง โครงการ Digital Wallet ที่ต้องตรวจสอบ คือ การพิสูจน์และยืนยันตัวตน และการพัฒนาระบบ Payment Gateway
(บทความจาก เว็บไซต์ The-prespective.co สัมภาษณ์ อ.ปริญญา หอมเอนก) 4 แนวทางเลี่ยง BSoD คือ ปรับกลยุทธ์การอัพเดตซอฟแวร์อัตโนมัติ อัพเดตซอฟแวร์ทีละส่วน ศัตรูในปัจจุบันไม่ใช่เพียงแค่ Hacker เท่านั้น และ Hacker ระดับโลกอาจจะแฝงตัวเข้าไปเป็นหนอน จะเกิดความโกลาหลแค่ไหน? ถ้าวันหนึ่งโทรศัพท์มือถือ Smartphone ไม่ว่าจะเป็น Android หรือ iOS
บทความจาก เว็บไซต์ The-prespective.co สัมภาษณ์ อ.ปริญญา หอมเอนก จากเหตุการณ์ Blue Screen of Death (BSoD) ทั่วโลก สิ่งสำคัญที่ต้องรู้คือ “ไม่มีคำว่า 100% สำหรับระบบไอทีและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” นับจากนี้ไป ทุกคน-ทุกองค์กรต้องมี Cyber Resilience Mindset และเตรียมแผนสำรองอยู่เสมอ ช่วงกลางวันของวันศุกร์ที่ 19
บทความจาก เว็บไซต์ The-prespective.co สัมภาษณ์ อ.ปริญญา หอมเอนก กูรูแนะแนวทางใช้ AI อย่างปลอดภัยสำหรับองค์กรธุรกิจ บุคคลทั่วไป และความจำเป็นที่ควรมีนโยบายระดับประเทศ โลกเทคโนโลยีได้รับการพัฒนามาถึงจุดที่ Generative AI สามารถสร้างเนื้อหา เช่น ข้อความ รูปภาพ เพลง วิดีโอ ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ได้โดยการเรียนรู้หรือฝึกจากข้อมูลมหาศาล ซึ่งในการนำไปใช้งานมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ทำให้หลายองค์กรตระหนักถึงการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
ภาพจาก : https://www.coe.int/en/web/freedom-expression/information-disorder ปัจจุบันภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบ แม้แต่ภัยที่เกิดจากการหลอกลวงก็ยังมีอยู่หลายรูปแบบ บางรูปแบบมีผลต่อทรัพย์สินเงินทอง บางรูปแบบเป็นปฏิบัติการ “จู่โจมเพื่อล้างสมอง” ซึ่งเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกไม่เฉพาะที่ประเทศไทยเท่านั้น โดยการจู่โจมเพื่อล้างสมองมักจะมาจากผู้ประสงค์ร้ายที่วางแผนอยู่เบื้องหลัง ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงภัยไซเบอร์ที่เป็นความผิดปกติของข้อมูลข่าวสารหรือ Information Disorder Information Disorder คืออะไร? ภัยในรูปแบบ Information Disorder คือ เป็นข้อมูลข่าวสารที่บิดเบี้ยวผิดเพี้ยน ยกตัวอย่างเช่น เราได้เห็นข่าวสารข้อมูลเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 มีการให้ข้อมูลข่าวสารผิดๆ
จากข่าวในกรณีที่ผู้เสียหายท่านหนึ่งถูกโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารผ่านทางแอป Mobile Banking ไปกว่าหนึ่งแสนบาท ช่วงแรกมีบางสำนักข่าวตั้งข้อสังเกตว่า อาจเกิดจากสายชาร์จแบตเตอรี่ปลอม ลักษณะเป็นสายชาร์จที่มิจฉาชีพทำขึ้นมาให้เป็นช่องทางในการขโมยข้อมูลหรือเข้าไปทำอะไรบางอย่างกับมือถือได้นั้น ซึ่งทราบความจริงในภายหลังว่าไม่ได้เกิดจากสายชาร์จแต่อย่างใด แต่เกิดจากการถูกหลอกลวงให้โหลดแอปปลอมติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ ในประเด็นนี้ นายปริญญา หอมเอนก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ มีความเห็นว่า สายชาร์จปลอมที่ดูดข้อมูลในมือถือยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย มีเพียงการนำเสนอในต่างประเทศตามงาน Hacker Conference ในลักษณะ Proof of Concept อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ากรณีดังกล่าวจะยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เราก็ควรจะต้องระมัดระวังในระดับหนึ่ง
การดำเนินชีวิตประจำวันในทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามี AI อยู่รอบตัว ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน โดยที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามี AI อยู่เบื้องหลังการทำงานต่างๆ มากมายในแต่ละวัน AI (Artificial Intelligent) หรือปัญญาประดิษฐ์ ทำงานด้านการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ชาญฉลาดสามารถที่จะ “คิด เรียนรู้ และโต้ตอบกับมนุษย์ได้” กล่าวกันว่าปัจจุบัน AI มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 7-8 ปี ด้วยความชาญฉลาดของ AI ที่ใกล้เคียงมนุษย์เข้ามาทุกที ทำให้มีการนำ
หลายคนอาจจะยังไม่ลึกซึ้งกับคำว่า “ข้อมูลรั่ว” ซึ่งในยุคนี้ควรต้องทำความเข้าใจกับคำว่า “ข้อมูลรั่ว” ให้ถ่องแท้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการและการบริหารความเสี่ยงจากการเกิดปัญหาข้อมูลรั่วไหล ในบทความนี้จะกล่าวถึงข้อมูลรั่วสองประเภท โดยทั้งสองประเภท มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ประเภทที่ 1 เป็นข้อมูลรั่วในยุค New Normal และประเภทที่ 2 เป็นข้อมูลรั่วที่เกิดจากการกระทำ ความแตกต่างจะเป็นอย่างไรอธิบายได้ ดังนี้ ประเภทที่ 1 ข้อมูลรั่วในยุค New Normal ที่ผ่านมาเราอาจจะคุ้นเคยกับข้อมูลรั่วที่เกิดจากการถูกแฮกข้อมูล
ทุกวันนี้ การช้อปปิ้งหรือซื้อของผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตที่โลกดิจิทัลหมุนรอบตัวเรา บางคนจับจ่ายใช้สอยผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ วันละหลายๆ ครั้ง ตอกย้ำว่าสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค Digital Commerce อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งสามารถพูดได้ว่าหากผู้ค้ารายใด ไม่ปรับตัวให้ทันกับยุคสมัย ไม่มีการค้าขายผ่านโลกออนไลน์ ก็อาจจะต้องล้มหายตายจากไปจากแวดวงธุรกิจในไม่ช้า พฤติกรรมขาช้อปออนไลน์ เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ระบบออนไลน์เข้ามาทดแทนการค้าขายในรูปแบบเดิม ทำให้เกิดความเคยชินใหม่ๆ ขึ้น ในที่นี้ขอกล่าวถึง 3 ประเด็นที่เกี่ยวพฤติกรรมขาช้อปออนไลน์ ได้แก่ ความสะดวกรวดเร็ว ความง่าย และความเสี่ยงทางไซเบอร์
“Shopee” แจ้งหยุดชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร หลังผู้เสียหายผูกบัญชีธนาคารกับแอปแล้วถูกดูดเงิน ด้านผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ ยอมรับ ถูก “แฮกเกอร์ดูดเงิน” ป้องกันยาก มีแนวโน้มเพิ่มสูงต่อเนื่อง แนะวิธี “ป้องกันตัว” เปิดบัญชีใหม่ใช้เฉพาะทำธุรกรรมออนไลน์ เพื่อจำกัดความเสียหาย จากกรณี มีผู้เสียหายผูกบัญชีธนาคารกับแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ชชื่อดัง (Shopee) แล้วต้องสูญเงินในบัญชีธนาคารหลายหมื่นบาทโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งที่ไม่ได้มีการทำธุรกรรมใดๆ จนต้องไปแจ้งความและร้องเรียนผ่านสื่อโซเชียล โดยพบว่ามีผู้เสียหายนับร้อยรายต้องสูญเงินลักษณะเดียวกัน ล่าสุด ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย พยายามติดต่อฝ่ายบริหาร Shopee ผ่านทีมประชาสัมพันธ์ของบริษัทฯ