Cybersecurity Management, Cyber Sovereignty, Transparency VS. Privacy, Data Governance

Cybersecurity Management, Cyber Sovereignty,
Transparency VS. Privacy, Data Governance

Articles by Prinya

Blog

Cybersecurity Act

ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมี พ.ร.บ.ไซเบอร์

ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สร้างความเสียหายให้แก่ ประชาชน สังคม ตลอดจนประเทศชาติ โดยไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน (Critical Infrastructures) ของประเทศ เป็นสาเหตุทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายด้านไซเบอร์ สำหรับประเทศไทยก็คือ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 นั่นเอง

Cybersecurity/Privacy Trends

The Top Ten Cybersecurity and Privacy Threats and Trends 2022-2024

แนวโน้มและทิศทางภัยด้าน Cybersecurity และ Privacy ปี 2565-2567 ทุกๆ ปี ภายในงานสัมมนาประจำปี CDIC (Cyber Defense Initiative Conference) ผมจะประกาศ 10 แนวโน้มทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย ซึ่งผมได้ทำการศึกษาวิจัยจากสถานการณ์และแนวโน้มทั่วโลก จากนั้นจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นแนวโน้มของประเทศไทย สำหรับปีนี้ได้วิเคราะห์ออกมาเป็นแนวโน้มของ 3 ปีนับจาก คือ “The Top

Privacy

“Digital Identity-Digital Footprint” ความโยงใยที่คุณอาจไม่รู้!! ต้องระวังทั้งบนโลกเสมือนไปจนถึงชีวิตนอกบ้าน

การหลอกลวงทางไซเบอร์ในปัจจุบันมีความแยบยลซับซ้อนยิ่งขึ้น เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ สมจริงขนาดมีการสร้าง Digital Footprint ปลอมขึ้นมา เมื่อเหยื่อเข้าไปเช็คข้อมูลผ่านสื่อโซเชียล ได้เห็นข้อมูล Digital Footprint ปลอมก็ยิ่งเชื่ออย่างตายใจ ดังนั้นการที่เราจะเชื่ออะไรต้องเช็คกันจากแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง โดยเฉพาะบนโลกดิจิทัล อะไรก็สามารถปลอมขึ้นมาได้ แม้แต่หลักฐานอย่าง Digital Footprint

Cybersecurity/Privacy Trends

บทวิเคราะห์เจาะลึก Top Ten Trends Cybersecurity & Data Privacy 2021 เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของผู้บริหารระดับสูงในปี 2022

ในทุกๆ ปี แนวโน้มด้านเทคโนโลยีและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ มีการเปลี่ยนแปลงและเกิดสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา วันนี้เราจะกล่าวถึง Top Ten Trends Cybersecurity & Data Privacy 2021 เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของผู้บริหารระดับสูงในปี 2022

Experience & Challenge

51 วัน คุณค่าที่ยิ่งใหญ่กับทุน Eisenhower Fellowships Southeast Asia Regional Program ในอเมริกา

เรื่อง Cybersecurity กำลังเป็นปัญหาระดับชาติ และเป็นวาระแห่งชาติในหลายประเทศ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยและการพัฒนาเศษฐกิจสังคมของประเทศ หากประเทศใดไม่มีการเตรียมความพร้อมทางไซเบอร์ (Cybersecurity Readiness) อย่างเพียงพอ โอกาสที่จะถูกโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญ (Critical Infrastructure) ก็มีความเป็นไปได้สูง

Data Protection, PDPA, Privacy

การบริหารความเสี่ยงองค์กรในมุมความเสี่ยงของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บทความทางวิชาการว่าด้วยเรื่องการบริหารความเสี่ยงที่องค์กรต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ควรเชื่อมโยงกับการบริหารความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ในมุมมองที่มีทั้งความต่างและความทับซ้อน หากเข้าใจก็จะปฏิบัติได้ถูกวิธี

Cybersecurity Management

ปัญหา “Cyber Attack” ทำไมยังแก้ไม่ตก?

ปัญหา “Cyber Attack” ทำไมยังแก้ไม่ตก? แม้เวลาจะผ่านมากว่า 20 ปี แล้วก็ตาม นั่นเป็นเพราะแท้จริงนั้น ไม่ใช่ปัญหาทางด้านเทคนิคเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีมุมอื่นๆ อีกหลายด้านที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ เช่น นโยบาย กลยุทธ์ กฎหมาย เศรษฐกิจและสังคม การศึกษาเพื่อการฝึกอบรมบุคลากรในระดับองค์กร และการฝึกอบรมประชาชนคนในระดับชาติ

Cybersecurity Management

งานระบบประมวลผลแบบคลาวด์ ภาครัฐ-เอกชน

การแก้ปัญหาความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ สามารถบริหารจัดการลดความเสี่ยงได้โดยจัดแบ่งระดับความสำคัญของข้อมูล ซึ่งการเตรียมความพร้อมและการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา